ประวัติความเป็นมาของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค ในปีการศึกษา ๒๕๓๘ มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค การจัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา เกิดจากดำริของ ศาสตราจารย์ รังสรรค์ แสงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ มีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำรงชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเปิดสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดปราจีนบุรี และต่อมาได้เปิดสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติฯ เพิ่มขึ้นอีก จนปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติขึ้นแล้วใน ๒๓ จังหวัดทั่วประเทศ
จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความพร้อมในการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา ณ บริเวณที่สาธารณประโยชน์ “ทุ่งควนจีน” หมู่ที่ ๖ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวนเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนในจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง สามารถบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังก่อให้เกิดความรักและหวงแหนท้องถิ่นของตนเอง และจะได้นำความรู้ ความสามารถที่ศึกษาไปแล้ว มาพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ในการก่อตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา
๑. เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา ความรู้และวิทยาการต่าง ๆ เข้าสู่ท้องถิ่น
๒. เพื่อเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อันจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
๓. เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ทัศนศึกษา และสงวนทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนในจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง สามารถบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังก่อให้เกิดความรักและหวงแหนท้องถิ่นของตนเอง และจะได้นำความรู้ ความสามารถที่ศึกษาไปแล้ว มาพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เจริญก้าวหน้า ต่อไปได้
เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นแหล่งการศึกษาซึ่งพร้อมที่จะเป็นฐานในการพัฒนาการศึกษา มีความมุ่งมั่นที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาไปในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยพร้อมที่จะจัดการศึกษาไปสู่ชุมชนต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกล เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่บุคลากรหรือประชาชนในท้องถิ่นให้ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรีจนถึงระดับบัณฑิตศึกษา
ปรัชญา ปณิธาน เป้าหมายและวัตถุประสงค์
วิสัยทัศน์
สนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาคชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยใช้โอกาสจากเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา และความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่
ปรัชญา
แหล่งเรียนรู้ เชิดชูปัญญา พัฒนาสังคม สู่ประชาคมอาเซียน
ปณิธาน
มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษา พัฒนาบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม บริการวิชาการ ส่งเสริมทำนุบำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
อัตลักษณ์
สนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้คู่คุณธรรม
เอกลักษณ์
มหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา
ค่านิยมองค์กร
สาขาวิทยบริการที่ทันสมัย ใส่ใจนักศึกษาและงานบริหาร บริการวิชาการล้ำหน้า อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทรงคุณค่า นำพาชุมชน
พันธกิจ
- สนับสนุนการจัดการศึกษาวิชาชีพด้านสังคมศาสตร์อย่างมีคุณภาพ
- ให้บริการวิชาการแก่องค์กร ชุมชน และสังคม อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
- ทำนุบำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- สร้างงานวิจัยสถาบัน ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- จัดระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและเสริมสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
- สนับสนุนและส่งเสริมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศ
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา จึงได้เปิดทำการเรียนการสอน ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ ที่ทำการเรียนการสอนอยู่นอกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เข้ามาทำการเรียนการสอน ณ สาขาวิทยบริการฯ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นโครงการพิเศษทั้งหมด ดังต่อไปนี้
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
- หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
- สถาบันนานาชาติ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต
ต่อมา ได้เปิดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก ในปีการศึกษา ๒๕๕๕
โดยมีคณะที่เปิดรับสมัครและจัดให้มีการเรียนการสอน ครั้งแรกได้แก่ คณะรัฐศาสตร์ มีจำนวนนักศึกษาสมัครทั้งสิ้นจำนวน ๑๐๒ คน ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๖๕ ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาเพิ่มอีก ๓ คณะ ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน
ปัจจุบันมีหลักสูตรและสาขาที่เปิดสอน
ระดับปริญญาตรี
๑.คณะบริหารธุรกิจ
๒.คณะนิติศาสตร์
๓.คณะรัฐศาสตร์
๔.คณะสื่อสารมวลชน
ระดับปริญญาโท
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
- หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
- หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
รายชื่อผู้บริหารของหน่วยงาน
๑. รองศาสตราจารย์สิทธิพันธ์ พุทธหุน
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดตรัง
ประสานงานสาขาฯ จังหวัดสงขลา
(๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒)
๒. รองศาสตราจารย์เพชรน้อย เวทยประสิทธิ์
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดสงขลา
(๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖)
๓. รองศาสตราจารย์ ดร.สมพล ทุ่งหว้า
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดสงขลา
(๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ – กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓)
๔. อาจารย์กุลทิตา ยุวะหงษ์
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดสงขลา
(๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔)
๕.รองศาสตราจารย์สมพล ทุ่งหว้า
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดสงขลา
(๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕)
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติศักดิ์ เชื้ออาษา
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดสงขลา
(๗ ตุลาคม ๒๕๖๕)
๗. รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์เทพ วิทิตอนันต์
รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการจังหวัดสงขลา
(ปัจจุบัน)
จำนวนบุคลากร
ปัจจุบัน บุคลากรของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา มี ๑๕ คน
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
พนักงานมหาวิทยาลัย (งบรายได้)
- เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ ๓ คน
- นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ ๑ คน
- นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ ๑ คน
- นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ๒ คน
- นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ ๑ คน
- บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ๑ คน
- ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน ๑ คน
- ช่างเทคนิค ๑ คน
ลูกจ้างมหาวิทยาลัย (งบรายได้)
- นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ ๑ คน
- ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน ๑ คน
- พนักงานขับรถยนต์ ๒ คน
รายนามเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา ดังนี้
พนักงานมหาวิทยาลัย (งบรายได้)
๑ นางสาวฐิตารีย์ |
ชุมคง |
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๒. นางสาวพัชญนัน |
ทองวงศ์ |
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๓. นายณัฐชาญเชษฐ์ |
สรรพพันธ์ |
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาโท |
๔. นางสาวณัฐสุรีย์ |
ชูละเอียด |
นักวิชาการการเงินและบัญชีปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๕. นายซอมัต |
เม๊าะแอ |
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๖. นายจอมภูมิพงศ์ |
วงศ์ช่วย |
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๗. นางสาววารีรัตน์ |
ศรประสิทธิ์ |
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๘. นางสาวมาลินี |
หลีอาซิม |
บรรณารักษ์ปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๙. นายรัชกฤต |
เปรมภักดิพร |
ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน |
ระดับ ปวส. |
๑๐. นายจรณะ |
คำศรีสุข |
ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน |
ระดับ ปวส. |
๑๑. นายขจรศักดิ์ | ส่งแสง | นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
ลูกจ้างมหาวิทยาลัย (งบรายได้)
๑. นางสาวพวงพิศ |
จันวัฒนา |
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ |
ระดับปริญญาตรี |
๒. นายธนา |
จันนะรัตน์ |
ช่างเทคนิคปฏิบัติงาน |
ระดับ ปวส. |
๓. นายจีราวัฒน์ |
ตันติสุนทรรักษ์ |
พนักงานขับรถยนต์ |
มัธยมศึกษาปีที่ ๖ |
๔. นายประสิทธิ์ |
แก้วเจริญ |
พนักงานขับรถยนต์ |
มัธยมศึกษาปีที่ ๓ |
อาคารสถานที่
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา มีอาคารต่าง ๆ ดังนี้
๑.อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช จำนวน ๑ แห่ง
๒.อาคารเรียนปฏิบัติการ ๓ ชั้น จำนวน ๒ หลัง
๓.โรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง
๔.อาคารละหมาด ๑ หลัง
อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ประวัติการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ด้วยคณะศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจัดหารายได้สมทบทุนสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยมีรายได้จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมเป็นเงิน ๑,๔๖๓,๒๕๘.๗๙ บาท (หนึ่งล้านสี่แสนหกหมื่นสามพันสองร้อยห้าสิบแปดบาทเจ็ดสิบเก้าสตางค์) ทั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากงานวางแผนแม่บท กองแผนงาน ในการออกแบบและประมาณราคางานก่อสร้างฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง ณ สาขาวิยบริการฯ จังหวัดสงขลา และได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างลานอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๗ จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในสมัยนั้น และได้รับองค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นองค์ที่ได้รับอนุญาตจาก กรมศิลปากร เมื่อดำเนินการก่อสร้างลานอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสร็จ จึงได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงองค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และยกขึ้นประดิษย์สถาน ณ ลานอนุสาวรีย์ฯ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗
อาคารเรียนปฏิบัติการ ๓ ชั้น จำนวน ๒ หลัง
อาคารเรียนปฏิบัติการ ๓ ชั้น หลังที่ ๑ ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ ปีงบประมาณ ๒๕๔๘ ใช้เงินทั้งสิ้น ๒๓,๒๑๖,๖๑๘.๕๐ (ยี่สิบสามล้านสองแสนหนึ่งหมื่นหกพันหกร้อยสิบแปดบาทห้าสิบสตางค์) และขึ้นทะเบียนสินทรัพย์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑
อาคารเรียนปฏิบัติการ ๓ ชั้น หลังที่ ๒ ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ใช้เงินทั้งสิ้น ๒๔,๒๗๘,๖๘๙.๕๐ (ยี่สิบสี่ล้านสองแสนเจ็ดหมื่นแปดพันหกร้อยแปดสิบเก้าบาทห้าสิบสตางค์) และขึ้นทะเบียนสินทรัพย์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
ต่อมาเมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ สาขาได้ขออนุมัติตั้งชื่ออาคารเรียนปฏิบัติการ ๓ ชั้น
อาคารเรียนปฏิบัติการ ๓ ชั้น หลังที่ ๑ ชื่อ อาคารชลาทัศน์ เป็นชื่อ ชายหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา
อาคารเรียนปฏิบัติการ ๓ ชั้น หลังที่ ๒ ชื่อ อาคารสิงขร เป็นชื่อ เก่าของเมืองสงขลา
ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น
โรงอาหาร ๑ หลัง
โรงอาหาร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยใช้งบประมาณจากเงินรายได้ ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ ใช้เงินทั้งสิ้น ๓,๙๗๙,๘๓๙.๕๘ (สามล้านเก้าแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันแปดร้อยสามสิบเก้าบาทห้าสิบแปดสตางค์) และขึ้นทะเบียนสินทรัพย์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖
อาคารละหมาด ๑ หลัง
ด้วยมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา มีนโยบายที่จะก่อสร้างอาหารละหมาดเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ ของกลุ่มนักศึกษามุสลิมที่มาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการฯ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษามุสลิมได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักของศาสนาอิสลาม แต่ขาดงบประมาณในการก่อสร้างอาคารดังกล่าว ดังนั้น กลุ่มนักศึกษามุสลิม ทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน จึงได้ร่วมมือกันระดมทุนกันเพื่อก่อสร้างอาคารละหมาด และร่วมกันจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจัดหารายได้สมทบทุน เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๗ ซึ่งในการระดมทุนได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณยุทธชัย หมานเส็น นักศึกษาชั้นปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รับเป็นเจ้าภาพในการระดมทุน โดยงบประมาณที่จะดำเนินการก่อสร้างอาคารละหมาดจะต้องใช้งบประมาณ เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน) สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา จึงขออนุญาตใช้พื้นที่สำหรับการก่อสร้างอาคารละหมาด จำนวน ๑ หลัง ตรงบริเวณด้านข้างโรงอาหาร ทางด้านทิศตะวันออก เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านศาสนาอิสลาม
รายงานสภาพที่ดินมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสงขลา
ที่ดินที่ใช้จัดตั้งสาขาวิทยบริการฯ จังหวัดสงขลา เป็นที่ดินประเภท ที่ดินสาธารณประโยชน์ประชาชนใช้ร่วมกัน และได้ดำเนินการขอถอนสภาพ และขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ “ทุ่งควนจีน”ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ๑๒๘๘๒ หมู่ที่ ๖ ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในจำนวน ๕๐ ไร่ ไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการฯ จังหวัดสงขลา ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และสาขาวิทยบริการฯ จังหวัดสงขลา ได้ส่งเอกสารประกอบการขอถอนสภาพและขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา เพื่อทางจังหวัดสงขลา จะได้ใช้ประการการพิจารณาดำเนินการขอถอนสภาพ และเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ สำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา ได้แจ้งมายังสาขาวิทยบริการฯ จังหวัดสงขลา ให้ดำเนินการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม โดยขอให้ดำเนินการขออนุญาตแผ้วถางป่า (เข้าทำประโยชน์ในเขตป่า) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔
บัดนี้ ได้ดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติ ป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ (แบบ ป.๘๔-๑) ณ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ ๑๓ (สงขลา) เพื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการฯ จังหวัดสงขลา กรณีหน่วยงานของรัฐเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาต จากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ ๑๓ (สงขลา) เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๔ และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ ๑๓ (สงขลา) ได้มอบหมายให้ ศูนย์ป่าไม้สงขลา เข้าตรวจสอบสถานที่ขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารของ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ ๑๓ (สงขลา) หากได้รับเอกสารการอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตป่า ตามมาตรา ๘๔ จักได้นำส่งเอกสารประกอบการขอถอนสภาพและขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙ ณ สำนักงาน